top of page
ไม้อัด หรือไม้แบบ คืออะไร ?
What is " Plywood "
Share on
เมษายน 30, 2024 บทความโดย Rabbit Plywood
ไม้แบบหรือไม้อัด ที่เราอาจคุ้นหน้าคุ้นตากันดี จัดเป็นหนึ่งใน Engineering Wood ที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย เพราะมีคุณสมบัติ ผิวสัมผัสและความแข็งแรงเทียบได้กับไม้ธรรมชาติหรือไม้จริง ไม้แบบหรือไม้อัดจะช่วยให้เราสามารถใช้ไม้ซึ่งเป็นทรัพยากรรรรมชาติที่สำคัญ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าการใช้ไม้ธรรมชาติหรือไม้จริงแบบดั้งเดิม เพราะหากต้องการใช้ไม้จริงเป็นแผ่นขนาดใหญ่ จะต้องเลื่อยจากต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ทั้งต้น ซึ่งหายากในปัจจุบันเพราะกว่าต้นไม้จะเติบโตจนได้ขนาดต้องใช้เวลานาน และหลังจากการเลื่อยตัดใช้เฉพาะส่วนที่ต้องการแล้ว จะมีส่วนที่ใช้งานไม่ได้เหลือและต้องทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย
" คุณสมบัติที่โดดเด่น ของไม้แบบหรือไม้อัด คือ มีความใกล้เคียงกับไม้ธรรมชาติหรือไม้จริงมากกว่า เมื่อเทียบกับ engineering wood อื่นๆ เช่น HDF MDF ปาร์ติเกิ้ลบอร์ด หรือ OSB ทั้งเรื่องของความแข็งแรง ความสามารถในการรับแรง และผิวสัมผัส โดยไม้แบบหรือไม้อัดเป็นอีกหนึ่ง engineering wood ที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถนำไปใช้ในงานโครงสร้าง//ก่อสร้างได้ ทั้งนี้ก็เพราะมันมีส่วนประกอบจากไม้ทั้งหมดนั่นเอง "
How to Produce ?
การผลิตไม้แบบหรือไม้อัดที่ได้มาตรฐาน
1. เริ่มจากการนำท่อนชุงเข้าเครื่องจักรหมุนผ่านใบมีด ขนาดใหญ่ เหมือนกับการเหลาดินสอจนได้แผ่นไม้บางๆ เรียกว่า "วีเนียร์"
2. นำเอาวีเนียร์ที่ได้ไปอบร้อนเพื่อควบคุมอุณหภูมิ ให้ได้ ระดับความชื้นที่ต้องการ
3. นำแผ่นวีเนียร์มาทากาวและวางเรียงเป็นชั้นๆ โดยการสลับทางไม้เผื่อให้ไม้แบบหรือไม้อัดมีความแข็งแรง โดยจำนวนชั้นไม้ที่เรียงยิ่งมากเท่าไหร่ ก็จะได้ความหนาของไม้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
4. นำวีเนียร์ที่วางช้อนกันไปทำการอัดแน่นด้วยแรงดันเพื่อให้กาวกระจายตัวทั่วแผ่น โรงงานส่วนใหญ่มักเรียก ขั้นตอนนี้ว่า "อัดเย็น"
5. เพื่อให้การติดกาวสมบูรณ์แบบจะอัดซ้ำด้วยความร้อนอีกครั้ง เรียกขั้นตอนนี้ว่า "อัดร้อน"
สุดท้ายนำไปตัดแต่งให้ได้ขนาดที่ต้องการและขัดหน้าไม้เก็บรายละเอียด เท่านี้ก็จะได้ไม้แบบหรือไม้อัดที่พร้อมนำออกจำหน่าย
การผลิตไม้อัด Double Pressed
ไม้แบบหรือไม้อัดที่มีการใช้งานเฉพาะ ที่ต้องการความเรียบสูง เช่น ไม้อัดที่นำไปใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์หรืองานตกแต่งภายใน ไม้อัดเคลือบฟิล์มคุณภาพสูงที่ต้องการความแข็งแรงและความเรียบของผิวหน้ามากเป็นพิเศษ ไม้อัดกลุ่มนี้จะผ่านขั้นตอนการผลิตซ้ำ 2 รอบ หรือที่เรียกว่า "Double pressed"
การผลิตรอบที่ 1 คือ การอัดเย็นและอัดร้อน 1 รอบ แบบธรรมดา
การผลิตรอบที่ 2 คือ การนำไม้ที่อัดแบบธรรมดามาแล้ว 1 รอบ ไปขัดให้เรียบก่อนที่จะติดวีเนียร์ผิวหรือฟิล์มทั้ง 2 ด้าน แล้วทำการอัดเย็นและอัดร้อนช้ำเป็นรอบที่ 2
การผลิตแบบ "Double pressed" ต้องเผื่อความหนาของไม้ไว้สำหรับการอัดและขัดซ้ำกัน 2 รอบ ต้องใช้เวลาและแรงงานคนมากกว่าเดิมจากกระกวนการทำงานซ้ำ 2 รอบ ส่งผลให้มีต้นทุนที่สูงกว่าแต่คุณภาพไม้แบบหรือไม้อัดที่ได้จะเรียบและแข็งแรงกว่าการผลิตแบบธรรมดา จึงตอบโจทย์กับการใช้งานจริงได้มากกว่า
ประเภทของไม้อัด
ไม้อัดสำหรับงานเฟอร์นิเจอร์
เน้นความเรียบ มีการปิดผิวหน้า ด้วยวีเนียร์ไม้ธรรมชาติ เช่น ไม้ยาง ไม้สัก ไม้แอช แล้วขัดหน้าจนเรียบลื่น ส่วนใหญ่ผลิตแบบ "Double pressed"
ไม้อัดโค้งบิดง้อได้
ไม้อัดชนิดพิศษ ที่เรียงวีเนียร์ แต่ละชั้นไปในทางเดียวกัน ทำให้สามารถดัดให้โค้งงอได้
ไม้อัดสำหรับงานทั่วไป
สามารถนำไปใช้ในงานก่อสร้าง หรือทำแพ็คกิ้งสินค้า
ไม้อัดเคลือบฟิล์ม
มีการปิดผิวหน้าด้วยฟิล์ม ที่ป้องกันกรดด่างและความชื้นได้ ใช้ในการหล่อคอนกรีต หากมีคุณภาพสูง จะให้ผิวคอนกรีต ที่เรียบสวยและใช้ซ้ำได้หลายรอบกว่าเมื่อเทียบกับไม้อัดที่มีคุณภาพต่ำ
โดยไม้อัดแต่ละประเภท ยังแยกความแตกต่างกันได้อีกจากประเภทกาวที่ใช้
กาวกันชื้น : ที่นิยมใช้คือ Urea Formaldehyde (U.F.), Melamine Urea Formaldehyde (M.U.F.)
กาวกันน้ำ : ที่นิยมใช้คือกาว Phenolic
กาว E1 E0 Super E0 : ที่มี formaldehyde ต่ำ เป็นกาวสูตรพิเศษ ที่มีการระเหยของ Formaldehyde ต่ำกว่ากาวทั่วไป (E2)
You get what you pay for
อย่างไรก็ตามยังมีไม้อัดที่มีการลดต้นทุน คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ผ่านขั้นตอนการผลิตตามที่กล่าวข้างต้น เช่น
-
ไม้อัดที่มีราคาถูก ที่อาศัยการนำวีเนียร์ไปตากแดดให้แห้งแทนการอบร้อน ไม่สามารถควบคุมความชื้นในไม้ได้ ส่งผลอย่างมากทำให้ไม้มีโอกาส บิดงอ เกิดเชื้อรา และมักจะมีปัญหาเรื่องการติดของกาว
-
ไม้อัด One time paess ที่อัดร้อนและอัดเย็นในขั้นตอนเดียวกัน
-
การใช้ไม้ที่มีขนาดเล็กมาทำวีเนียร์ ทำให้ได้แผ่นวีเนียร์ขนาดเล็ก เมื่อนำมาเรียงด้วยมือในแต่ละชั้น จะพบปัญหาการเกิดรูรอยต่อระหว่างแผ่นวิเนียร์ได้มาก ยิ่งชิ้นวีเนียร์เล็ก ยิ่งเกิดรูได้มาก
-
การใช้กาวคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน ทำให้ความแข็งแรงของไม้ลดลง ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ไม้แบบหรือไม้อัดเหล่านี้จะใช้งานไม่ได้ เพียงแต่ความแข็งแรง และความคงทน จะลดลงไปเมื่อเทียบกับไม้อัดที่ผ่านขั้นตอนการผลิตที่ได้มาตรฐาน เราเพียงแต่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะ การใช้งานของเราเท่านั้นเอง
‘’ แต่หลายครั้งเวลาเรามองจากภายนอก กลับไม่พบความแตกต่างมากนัก จนเมื่อเรามีการใช้งานจริง จะพบปัญหาของความแข็งแรงคงทนของไม้อัดคุณภาพต่ำ ดังนั้นการเลือกซื้อไม้แบบหรือไม้อัดจึงไม่ควรเลือกจากราคาเป็นหลัก แต่ควรเลือกซื้อไม้แบบหรือไม้อัดจากวัตถุประสงค์การใช้งานของเรา ซึ่งร้านค้า หรือผู้จัดจำหน่ายที่ดีจะสามารถแนะนำไม้อัดที่เหมาะสมให้กับเราได้ ‘’
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
bottom of page