top of page
ไม้อัดเคลือบฟิล์ม เป็นวัสดุก่อสร้างที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากไม้แบบหรือไม้อัดแบบเดิม โดยการนำวีเนียร์ไม้มาประสานกันด้วยกาวสูตรพิเศษ และติดฟิล์มกันน้ำลงไปทั้งด้านหน้าและด้านหลังของแผ่นไม้ ทำให้แม้ขณะใช้งานจริงที่ต้องเจอกับแดด ฝน น้ำ ความชื้น ความร้อนสูง การกัดกร่อน และแรงกดทับจากคอนกรีต ตลอดเวลาที่หน้าไม้สัมผัสกับปูน ฝน และแสงแดด ไม้อัดเคลือบฟิล์มที่มีคุณภาพดี สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมเหล่านี้และสามารถใช้ซ้ำได้หลายๆรอบ
ใช้กาวทาเฉลี่ย
1
กิโลกรับ /
วีเนียร์ 1 ชั้น
ทน
ต่อแรงกดทับ
ความร้อนสูง
และการกัดกร่อน
กาว คือ ส่วนสำคัญที่เปลี่ยนไม้อัดธรรมดา ให้ทนทานต่อการใช้งานได้หลายรอบ
สิ่งที่ทำให้แต่ละชั้นของไม้แบบหรือไม้อัด (แผ่นวีเนียร์) ยึดติดกันได้อย่างแข็งแรง จนน้ำหรือคอนกรีตทำอะไรไม่ได้ ทำให้ทนต่อแรงกดทับ ความร้อนสูง และการกัดกร่อน ก็คือ กาว หากต้องการให้ไม้แบบหรือไม้อัด แข็งแรงในแต่ละชั้นวีเนียร์ต้องใช้กาวทาเฉลี่ยถึง 1 กิโลกรัม
" จริงหรือที่ไม้อัดหนากว่าจะทนกว่า และแพงกว่า ? "
เพราะต้นทุนกว่าครึ่งของไม้แบบหรือไม้อัด คือ กาว หลายท่านน่าจะเคยประสบปัญหาไม้แบบเคลือบฟิล์มที่แยกชั้นออกจากกัน (delaminated) ทำให้เกิดความเสียหายจนไม่สามารถใช้งานไม้แบบเคลือบฟิล์มนั้นได้ต่อ สาเหตุหลักๆ ไม่ได้เกิดจากความหนาหรือบางของไม้ แต่เกิดจากการใช้กาวคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานเพื่อลดต้นทุนการผลิต
คุณภาพและประเภทของกาว แบ่งได้ 2 ประเภทหลักๆ
กาวกันชื้น : ที่นิยมใช้คือ Urea Formaldehyde (U.F.), Melamine Urea Formaldehyde (M.U.F.) โดยกาวกันชื้นที่มีคุณภาพ และมีปริมาณที่มากพอ สามารถทำให้ไม้แบบหรือไม้อัด ทนทานใช้งานได้ 6-10 รอบกันทีเดียว โดยเฉพาะ Melamine Urea Formaldehyde ที่มีส่วนผสมของ melamine สูงกว่า 15% จะให้คุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับกาว Phenolic ในแง่ความคงทน
กาวกันน้ำ : ที่นิยมใช้คือกาว Phenolic มีคุณสมบัติในการกันน้ำที่ดีที่สุด
จะรู้ได้อย่างไรว่า กาวดี มีมาตรฐาน ?
เนื่องจากการตัดสินด้วยตาเปล่าจากภายนอกเป็นเรื่องยากมาก หากต้องการทราบก่อนการใช้งานจริงว่ากาวดีหรือไม่ ต้องทำการทดสอบในห้องทดสอบที่ได้มาตรฐาน โดยการทดสอบคุณภาพการยึดติดของกาว ประกอบด้วยการวัดค่าความต้านแรงเฉือน หรือ shear และค่าการแตกที่ไม้ ซึ่งสามารถขอผลทดสอบนี้ได้จากผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าที่ได้มาตรฐาน
ความต้านแรงเฉือน หรือ shear คือ ค่าที่ใช้วัดแรงต้านการดึงของวัสดุ วิธีการการทดสอบ ความต้านแรงเฉือน (shear) ของไม้แบบหรือไม้อัด จะใช้ชิ้นตัวอย่างไม้ที่ลอกหน้าฟิล์มออก แล้วนำตัวอย่างนั้นไปเข้าเครื่องดึงออกจากกันเพื่อวัดค่า หากต้องใช้แรงดึงมาก ก็จะมีค่าความต้านแรงเฉือนสูง ตามเกณฑ์กำหนด มอก. 178-2549 ต้องไม่ต่ำกว่า 0.2 Mpa
โดยหากค่าความต้านแรงเฉือนต่ำกว่ามาตรฐาน ก็ให้ดูที่ % ค่าการแตกที่ไม้ ของตัวอย่างไม้ที่ถูกดึงออกมา ว่ามี % ค่าการแตกที่ไม้ ระหว่างชิ้นไม้ที่โดนดึงออกมาเป็นกี่ % ของพื้นที่ หากค่า % ค่าการแตกที่ไม้มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดก็ถือว่าติดกาวได้มาตรฐาน
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับผลทดสอบคุณภาพไม้
ควรเป็นสถาบันที่ได้มาตรฐานและน่าเชื่อ
สถาบันผู้ทำการทดสอบ
เพื่อให้ได้ผลทดสอบที่ถูกต้องแม่นยำ ปัจจุบันมีสถาบันต่างๆที่รับทดสอบคุณภาพไม้อัด หนึ่งในสถาบันที่ได้มาตรฐานและน่าเชื่อถือด้านการทดสอบไม้แบบหรือไม้อัดของประเทศไทย คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ ภาควิชาวนผลิตภัณฑ์
จะต้องอ้างอิงกับค่าการแตกที่ไม้ตามเงื่อนไข ดังนี้เสมอ
การอ่านค่า ความต้านแรงเฉือน (Shear)
fᵥ แทน ค่าความต้านแรงเฉือน (shear)
0.2 ≤ fᵥ < 0.4 ค่าการแตกที่ไม้ต้อง ≥ 80
0.4 ≤ fᵥ < 0.6 ค่าการแตกที่ไม้ต้อง ≥ 60
0.6 ≤ fᵥ < 1.0 ค่าการแตกที่ไม้ต้อง ≥ 40
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
bottom of page