เรื่องของพื้น
Pre-tensioned concrete and Post-tensioned concrete
กรกฎาคม 31, 2025 บทความโดย Rabbit Plywood : Share on

แบบหล่อคอนกรีต คือ สิ่งที่ใช้เป็นโครงสร้างหล่อคอนกรีตให้ได้ตามรูปแบบและขนาดตามที่ต้องการ ดังนั้นไม้อัดเคลือบฟิล์มหรือไม้แบบ ที่ใช้ควรมีคุณภาพ ผ่านการรับรองมาตรฐาน จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้
ไม้อัด ตรา กระต่าย
☑️ ได้รับมาตรฐาน MiT จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
☑️ ผ่านการทดสอบคุณภาพ ตามเกณฑ์กำหนด สมอ.178-2549
อ้างอิง : ผลการทดสอบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ ภาควิชาวนผลิตภัณฑ์
และถูกใช้เป็นแบบหล่อ สำหรับการทำพื้นคอกรีตแบบ Pre-tensioned concrete และ Post-tensioned concrete
คอนกรีตอัดแรง (Prestressed concrete)
คอนกรีตอัดแรง เป็นรูปแบบหนึ่งของคอนกรีตที่ใช้ในการก่อสร้าง โดยคอนกรีตจะผ่านกระบวนการ "อัดแรง" (Prestress) ในระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งจะทำให้คอนกรีต มีความแข็งแรง และรับน้ำหนักสูงได้ขณะใช้งาน การอัดแรงนี้เกิดจากการดึง "เส้นเอ็น" ที่มีความแข็งแรงสูง ซึ่งอยู่ภายในหรือติดกับคอนกรีต

Pre-tensioned concrete
คือ การดึงเอ็นก่อนคอนกรีตจะยึดติดกับเอ็นในขณะที่แข็งตัว หลังจากนั้นเอ็นที่ยึดปลายไว้จะถูกปล่อยออก และแรงดึงของเอ็นจะถูกถ่ายโอนไปยังคอนกรีตในรูปแบบของการบีบอัดด้วยแรงเสียดทานสถิตย์ การทำ Pre-tensioned concrete มักเป็นการผลิตและควบคุมคุณภาพ จากโรงงาน แล้วขนส่งไปยังหน้าโครงการเมื่อบ่มเสร็จแล้ว จึงเหมาะกับงานที่ต้องผลิตเป็นจำนวนมาก โดยต้องมีจุดยึดปลายที่แข็งแรงและมั่นคง ซึ่งเอ็นจะถูกยืดระหว่างจุดเหล่านี้ ซึ่งทำหน้าที่เป็นปลายของ "ฐานหล่อ" ส่วนใหญ่นิยมใช้ในการผลิตโครงสร้าง แผ่นพื้น แผ่นพื้นกลวง ระเบียง คานประตู เสาเข็มตอก ถังเก็บน้ำ และท่อคอนกรีต


Post-tensioned concrete
คือ การที่เอ็นจะถูกดึงให้ตึงหลังจากหล่อและบ่มโครงสร้างคอนกรีตแล้ว โดยเอ็นจะไม่สัมผัสกับคอนกรีตโดยตรง แต่จะหุ้มไว้ในปลอกป้องกันหรือท่อซึ่งจะหล่อเข้าไปในโครงสร้างคอนกรีตหรือวางไว้ติดกับโครงสร้างนั้น ที่ปลายแต่ละด้านของเอ็นจะมีชุดยึดที่ยึดแน่นกับคอนกรีตโดยรอบ เมื่อหล่อคอนกรีตและวางเรียบร้อยแล้ว เอ็นจะถูกดึงให้ตึง "รับแรง" โดยการดึงปลายเอ็นผ่านจุดยึดในขณะที่กดทับกับคอนกรีต แรงขนาดใหญ่ที่จำเป็นในการดึงเอ็นจะส่งผลให้เกิดการบีบอัดถาวรกับคอนกรีตเมื่อเอ็น "ล็อค" ไว้ที่จุดยึด วิธีการล็อคปลายเอ็นกับจุดยึดจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของเอ็น โดยระบบที่ใช้กันมากที่สุดคือการยึดแบบ "หัวปุ่ม"
Post - Tensioned Concrete


Post-tensioned concrete มักใช้กับโครงสร้างที่มีการออกแบบที่ซับซ้อน เนื่องจากสามารถใช้กับพื้นที่มีความกว้างได้โดยไม้ต้องมีเสากลาง และยังช่วยลดการแตกหรือร้าวของคอนกรีตอีกด้วย
อย่างไรก็ดีการทำพื้นคอกรีตแบบ Pre-tensioned concrete และ Post-tensioned concrete ต่างช่วยทำให้พื้นคอกรีตมีความแข็งแรงและรับน้ำหนักได้สูงกว่าคอนกรีตเสริมเหล็กแบบดั้งเดิม ช่วยลดความหนาของโครงสร้าง และประหยัดวัสดุที่ต้องใช้ การเลือกใช้แบบใดนั้นจึงขึ้นอยู่กับความซับซ้อนในการออกแบบ สภาพการก่อสร้าง และการขนส ่ง ของแต่ละโครงการ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ