ดูอย่างไร ว่าไม้อัดที่ใช้ผ่านมาตรฐาน ?
ความจริงที่คนขายไม้ ไม่เคยบอกคุณ
ตุลาคม 30, 2024 บทความโดย Rabbit Plywood : Share on
การดูคุณภาพไม้อัด ด้วยตาเปล่าเพียงแค่ภายนอก ที่ความหนา น้ำหนัก สีของเนื้อไม้อย่างเดียว เป็นเรื่องยากมาก และมีความถูกต้องแม่นยำต่ำ
จึงต้องมีการทดสอบคุณภาพ ในห้องแล็บที่ได้มาตรฐานและน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะงานก่อสร้าง ที่ต้องมั่นใจได้ว่าไม้แบบหรือไม้อัดที่ใช้อยู่มีคุณภาพจริงเพราะหากไม่อาจทำให้หน้างานเกิดความเสียหายมหาศาล ทั้งตัวเงินและอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน
คุณคิดว่าไม้ชิ้นไหน คุณภาพดีที่สุด ?
A
B
C
ดูผลทดสอบ ได้ที่ท้ายบนความ ลองมาหาคำตอบกัน
3 เรื่องหลัก ที่ใช้ทดสอบดูคุณภาพไม้
การทดสอบคุณภาพในห้องแล็บมีหลากหลายเรื่อง แต่จะมีหลักๆ 3 เรื่องที่สำคัญ ผลทดสอบนี้สามารถขอได้จากผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า
1. การติดกาว กาว คือ ส่วนสำคัญที่เปลี่ยนให้แผ่นไม้อัดธรรมดากันน้ำและใช้งานได้เหมือนไม้จริง
ความต้านแรงเฉือน (shear) คือ ค่าที่ใช้วัดการติดกาวของไม้แบบหรือไม้อัด ตามเกณฑ์กำหนด สมอ. 178-2549 ต้องไม่ต่ำกว่า 0.2 Mpa ทดสอบหาค่าโดยนำชิ้นตัวอย่างไม้ที่ลอกหน้าฟิล์มออกแล้วนำไปเข้าเครื่องดึงเพื่อวัดค่า และจะต้องอิงกับค่าการแตกที่ไม้ ตามเงื่อนไข
fᵥ แทน ค่าความต้านแรงเฉือน (shear)
0.2 ≤ fᵥ < 0.4 ค่าการแตกที่ไม้ต้อง ≥ 80
0.4 ≤ fᵥ < 0.6 ค่าการแตกที่ไม้ต้อง ≥ 60
0.6 ≤ fᵥ < 1.0 ค่าการแตกที่ไม้ต้อง ≥ 40
ค่าความต้านแรงเฉือน (shear) จะต้องอิงกับค่าการแตกที่ไม้ตามชุดตัวเลขนี้เสมอ
2. MOR/MOE ความต้านแรงดัด MOR (Modulus of Rupture) และ มอดุลัสยืดหยุ่น MOE (Modulus of Elasticity) คือ การหาค่าความทนทานของวัตถุ ไม้แบบหรือไม้อัดที่ได้มาตรฐานต้องมีค่า MOR ต้องไม่ต่ำกว่า 24 Mpa MOE ต้องไม่ต่ำกว่า 3,850 Mpa ตามเกณฑ์กำหนด สมอ. 178-2549 ทดสอบหาค่าโดยนำชิ้นตัวอย่างไม้เข้าเครื่องรับแรงกดบริเวณจุดกึ่งกลาง ค่า MOR/MOE ยิ่งสูงไม้แบบหรือไม้อัดจะยิ่งมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่แตกหักง่าย
ทดสอบ ความต้านแรงดัด และ มอดุลัสยืดยุ่น โดย ผู้เชี่ยวชาญ
3. ความชื้น ความชื้นที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดประสานของกาวได้ดีกว่า ค่าความชื้น (Moisture Content) คือ ปริมาณน้ำหรือความชื้นที่มีอยู่ในวัสดุ แต่ละประเทศมีการกำหนดค่าความชื้นไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความชื้นสัมพัทธ์ในแต่ละพื้นที่ ประเทศไทย ค่าความชื้นต้องอยู่ระหว่าง 7-15% ตามเกณฑ์กำหนด สมอ. 178-2549 หาค่าโดยวิธี Oven Dry Weight โดยนำชิ้นตัวอย่างไม้ชั่งน้ำหนักก่อน นำเข้าเตาอบอุณหภูมิ 103 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วนำมาชั่งน้ำหนักอีกครั้ง เพื่อนำค่าเข้าสูตรคำนวณ
วัดความชื้น หลังเข้าเครื่องอบ
จากข้อมูลทั้งหมด คำตอบยังเหมือนเดิมอยู่ไหม ?
ตัวอย่างไม้ C
ตัวอย่างไม้ C ผลิตในประเทศไทย ดูจากภายนอก มีความหนาน้อยที่สุด มีสีเนื้อไม้ปานกลาง แต่ได้ผลการทดสอบ ค่าการติดกาวและค่า MOR สูงที่สุด ในขณะที่ ตัวอย่างไม้ A นำเข้าจากต่างประเทศ ดูจากภายนอก มีความหนามากที่สุด มีสีเนื้อไม้ค่อนข้างเข้ม แต่ผลการทดสอบค่าการติดกาวไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดของ สมอ. 178-2549
1. อ้างอิงตัวเลขผลการทดสอบจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ ภาควิชาวนผลิตภัณฑ์
2. เนื่องจากไม้มีความหนาไม่เท่ากัน จึงไม่ได้นำน้ำหนักมาเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบในครั้งนี้
หมายเหตุ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ