การใช้ไม้ = การตัดไม้ทำลายป่า จริงหรือ
กันยายน 30, 2024 บทความโดย Rabbit Plywood : Share on
ถ้าเราจะบอกว่าการใช้ทรัพยากรไม้อย่างเป็นระบบ กลับเป็นการเพิ่มปริมาณป่าไม้ อาจดูเป็นเรื่องเหลือเชื่อ แต่ในต่างประเทศหลายประเทศ ถึงกับมีการออกกฎหมายกำหนดสัดส่วนขั้นต่ำของไม้ในสิ่งปลูกสร้าง และมีการให้คาร์บอนเครดิตกับผู้ประกอบการที่ใช้ไม้ในสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเรื่องนี้น่าจะสวนทางกับความเชื่อของเราที่เวลาเห็นรถขนท่อนซุง หรือเห็นการใช้ไม้แล้วมองว่านี่แหละคือ การตัดไม้ทำลายป่า แต่เราลืมไปว่าทรัพยากรไม้ เป็นสิ่งที่ปลูกขึ้นใหม่ทดแทนได้เสมอ เมื่อเทียบกับทรัพยากรอย่างอื่นที่ใช้แล้วหมดไป และหากทำอย่างเป็นระบบ จะทำให้มีปริมาณป่าไม้เพิ่มขึ้นได้ไม่ยาก
การใช้ไม้ ต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ประเทศฟินแลนด์มีอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นรายได้หลักของประเทศ จากการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษ กระดาษแข็ง วัสดุบรรจุภัณฑ์ และไม้แปรรูป ทำให้มีความต้องการวัตถุดิบไม้เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีการปลูกป่าเป็นจำนวนมากตามมา จนกลายเป็นแบบอย่างสำหรับประเทศอื่น ๆ ในการใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีพื้นที่ป่ากว่า 70% ของประเทศ
ความสำเร็จของ ประเทศฟินแลนด์ ที่ยิ่งตัดต้นไม้ พื้นที่ป่ายิ่งเพิ่มขึ้น จนปัจจุบันมีพื้นที่ป่าไม้สูงถึง 70% คิดจากพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ
ป่าไม้ ในประเทศฟินแลนด์
ป่าไม้ ในประเทศฟินแลนด์
ความสำเร็จนี้ เกิดจากอะไร
1. ภาครัฐส่งเสริมอุตสาหกรรมป่าไม้อย่างเป็นรูปธรรม
2. เน้นการใช้นวัตกรรมและเครื่องจักรกล เพื่อลดปริมาณการใช้แรงงานและย่นเวลาให้ได้มากที่สุด และมีภาคเอกชนเป็นผู้นำให้คำปรึกษา ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการนำวัสดุชีวภาพกลับมาใช้ใหม่
3. การนำเศษไม้และเศษเหลือจากการแปรรูปไม้ ผลิตเป็นไบโอดีเซลจากไม้และไบโอออยล์ มีการคิดค้นนวัตกรรมการใช้เส้นใยไม้เพื่อผลิต ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่ทำจากไม้ ได้แก่ ไมโครไฟบริล นาโนเซลลูโลส ไม้อัดที่ขึ้นรูปได้ กระดาษแข็งที่ขึ้นรูปด้วยความร้อน และ bio composites ที่รวมไม้และเส้นใยเข้ากับวัสดุอื่น
4. ใช้วัสดุไม้และเส้นใย ไปทำยา อาหารเพื่อสุขภาพ พลาสติก เครื่องสำอาง และสิ่งทอ รวมทั้ง มีการแปลงขยะชีวภาพ
ใช้นวัตกรรมและเครื่องจักรกล เพื่อลดปริมาณการใช้แรงงาน
ผลิตไบโอดีเซลและไบโอออยล์ จากเศษไม้เหลือใช้
ด้วยความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน และประชาชนในประเทศ ช่วยกันบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมไปกับการอนุรักษ์และลดผลกระทบที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ปัจจุบันประเทศฟินแลนด์เต็มไปด้วยป่าไม้
ย้อนกลับมา มองสถานการณ์ป่าไม้ในประเทศไทยของเรา
ข้อมูลจาก ปี 2565 ประเทศไทยมีพื้นที่ที่มีสภาพป่าไม้เพียง 31.57% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย โดยจาก 31.57% เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 22% และพื้นที่ป่าเศรษฐกิจกับป่าชุมชน 9% เท่านั้น
จากข้อมูลนี้ พื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยลดลงจากปี 2564 ประมาณ 0.02% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ของไทยมีการลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Change) การเกิดจากปัญหาไฟป่า (Forest Fire) หรือการบุกรุกทำลายป่า เป็นต้น
มาร่วมกันสนับสนุน อุตสากรรมป่าไม้ในประเทศไทย
วิกฤตความยั่งยืนเกิดขึ้นกับทุกประเทศทั่วโลก จากการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติที่มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่มา ทดแทนได้ (Non - Renewable Resources) อย่าง หิน ดิน ทราย แร่ธาตุ และน้ำมัน
ไม้อัดเคลือบฟิล์ม ตรา กระต่าย เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มี ส่วนร่วมในการใช้ใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการผลิตไม้อัดเคลือบฟิล์มทั้งหมดในประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาร่วมกับหน่วยงานวิชาการของมหาวิทยาลัยชั้นนำของภาครัฐ เพื่อให้มีรอบการใช้งานที่สูงมากกว่าไม้อัดทั่วไป จนเราได้รับมาตรฐาน M.I.T. จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เราอยากชวนคุณมาร่วมกันสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ไม้ในประเทศไทย เพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมไม้และพื้นที่ป่าในประเทศกับเรา
*อ้างอิงข้อมูลจาก กรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ, มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ